เกี่ยวกับเทศบาล

ประวัติความเป็นมา

    แต่เดิมพื้นที่ตำบลท่าช้างและบริเวณใกล้เคียงเป็นพื้นที่ป่าไม้เบญจ-พรรณ เป็นที่อยู่อาศัย

ของสัตว์นานาชนิด สัตว์ที่มีมากที่สุด คือ ช้างป่า และมีเส้นทางที่ช้างข้ามไปมาระหว่างป่า

แถบดงละครและป่าแถบบริเวณเขาชะโงก ปัจจุบันยังมีทางซึ่งเป็นทางช้างข้ามแม่น้ำ

นครนายก ตรงบริเวณวัดท่าช้าง เนื่องจากเป็นท้องที่ที่มีช้างมาก และมีท่าซึ่งเป็นทางข้าม

ของช้างนี่เอง ชาวบ้านจึงขนานนามท้องที่นี้ว่า "ท่าช้าง"

    ในปี พ.ศ.๒๕๑๔ กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่า ท้องที่บางส่วนของอำเภอ

เมืองนครนายกมีสภาพอันสมควรยกฐานะเป็นสุขาภิบาลได้ และได้พิจารณายกฐานะท้องถิ่น

บางส่วนของตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก (บริเวณตลาดท่าหุบ)

จัดตั้งเป็นสุขาภิบาลท่าช้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดตั้งสุขาภิบาลท่าช้าง

อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๑๔ ประกาศในราชกิจจา -

นุเบกษา เล่มที่ ๘๘ ตอนที่ ๔๒ เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๑๔ โดยให้บริเวณดังต่อไปนี้

    ด้านเหนือ  ตั้งแต่หลักเขตที่ ๑ ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำนครนายกฝั่งใต้ ริมทางเข้าวัดโบสถ์

การ้องฟากตะวันตก เลียบตามริมแม่น้ำนครนายกฝั่งใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

ถึงหลักเขตที่ ๒ ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำนครนายกฝั่งใต้ ตรงปากคลองส่งน้ำชลประทาน

สายสองฝั่งตะวันตก

    ด้านตะวันออก จากหลักเขตที่ ๒ เลียบตามริมคลองส่งน้ำชลประทานสายสองฝั่งตะวันตก

ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ ๓ ซึ่งตั้งอยู่ ริมคลองส่งน้ำชลประทานสายสอง 

ฝั่งตะวันตก บริเวณริมกั้นน้ำฝั่งซ้ายฟากเหนือ

    ด้านใต้ จากหลักเขตที่ ๓ เลียบตามริมคลองส่งน้ำชลประทานสายสองฝั่งเหนือ

ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ ๔ ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองชลประทานสายสองฝั่งเหนือ

ตรงริมทางเข้าวัดโบสถ์การ้องตะวันตก

    ด้านตะวันตก จากหลักเขตที่ ๔ เลียบตามริมทางเข้าวัดโบสถ์การ้องฟากตะวันตก

ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ บรรจบหลักเขต ๑

    และต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลท่าช้าง ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลง

ฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ.๒๕๔๒ ประกาศใน ราชกิจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๖

ตอนที่ ๖ ก. ลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๒

วิสัยทัศน์และพันธะกิจ

วิสัยทัศน์การพัฒนาเทศบาลตำบลท่าช้าง  คือ

“ชุมชนแห่งการเรียนรู้  เชิดชูวัฒนธรรม  ก้าวล้ำเทคโนโลยี

สามัคคีแนวคิด  เศรษฐกิจพอเพียง”

     *  ชุมชนแห่งการเรียนรู้  หมายถึง  ประชาชนมีความสนใจในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

เป็นการเรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบ  เพื่อนำความรู้นั้นมาพัฒนาตนเอง  พัฒนาชุมชน

ให้เป็นแหล่งเรียนรู้  เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม  และเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่

ประชาคมอาเซียน

     *  เชิดชูวัฒนธรรม  หมายถึง  ในเขตเทศบาลตำบลท่าช้าง ได้จัดกิจกรรม

ในวันสำคัญต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรม 

ขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น ประเพณีขึ้นปีใหม่, ประเพณีสงกรานต์, ประเพณีเข้าพรรษา,

ประเพณีลอยกระทง  และวันสำคัญทางศาสนาต่าง ๆ  และในเขตเทศบาลตำบลท่าช้าง

มีโบราณสถาน โบราณวัตถุคือ มณฑปเก่าซึ่งมีรอยพระพุทธบาทจำลอง, เศียรพระพุทธรูป

หินทรายโบราณ  ศาลาไม้เก่าและธรรมาสน์สมัยรัชกาลที่ ๕  ตั้งอยู่บริเวณวัดโบสถ์การ้อง 

หมู่ที่ ๑๑  เหมาะแก่การส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

     *  ก้าวล้ำเทคโนโลยี  หมายถึง  ประชาชนมีความสนใจในการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ 

มีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศรองรับการพัฒนาจังหวัดอัจฉริยะ (Smart  Province) 

ส่งเสริมและสนับสนุนยุทธศาสตร์จังหวัดอัจฉริยะต้นแบบของจังหวัด  ในการพัฒนา

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ปฏิบัติงานและส่งเสริมการพัฒนาจังหวัด

     *  สามัคคีแนวคิด  หมายถึง  ส่งเสริมประชาชนในเขตเทศบาลตำบลท่าช้าง

เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเทศบาลตำบลท่าช้าง โดยการร่วมคิดร่วมทำ

เพื่อพัฒนาให้เทศบาลตำบลท่าช้างมีเศรษฐกิจดี  ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี 

มีอาชีพรายได้พอเพียงกับการดำรงชีวิต  มีสภาพแวดล้อมที่สวยงามไม่มีปัญหามลพิษ  

มีการบริการต่างๆ ดี คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี  มีคุณธรรมและจริยธรรม  มีความสงบสุข  

ปลอดจากยาเสพติด  มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  ชุมชนและประชาสังคม

มีความเข้มแข็ง

     *  เศรษฐกิจพอเพียง  หมายถึง  ชุมชุนของเทศบาลตำบลท่าช้างได้มีการน้อมนำ

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาของชุมชน

และพัฒนาชุมชนของตนเอง

 

ภารกิจ อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลท่าช้าง

     เทศบาลตำบลท่าช้าง  ได้ศึกษาข้อมูลยุทธศาสตร์แผนพัฒนาและแนวทางการพัฒนา

ท้องถิ่น  ประกอบด้วย

     ๑)  ยุทธศาสตร์ที่  ๑  ด้านการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต  คุณค่าทางสังคม

                                  และความเข้มแข็งของชุมชน

     ๒)  ยุทธศาสตร์ที่  ๒  ด้านการส่งเสริมพัฒนาการศึกษา และการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

                                  ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

     ๓)  ยุทธศาสตร์ที่  ๓  ด้านการส่งเสริมพัฒนาการเกษตร  

                                  และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

     ๔)  ยุทธศาสตร์ที่  ๔  ด้านการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค 

                                  สาธารณูปการ

     ๕)  ยุทธศาสตร์ที่  ๕  ด้านการพัฒนาด้านพัฒนาประสิทธิภาพทางการเมือง 

                                  การบริหารการจัดการและการพัฒนาบุคลากร

     ๖)  ยุทธศาสตร์ที่  ๖  ด้านการส่งเสริมพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว

ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม -
ชุมชนท่าหุบ (หมู่ที่ ๘ บางส่วน) 116 206 213 419 คน
ชุมชนวัดโบสถ์การ้อง (หมู่ที่ ๑๑) 151 295 292 587 คน
ทะเบียนบ้านกลาง (หมู่ ๗๗) 0 0 0 0 คน
ข้อมูลรวม : คน

สภาพทั่วไป ลักษณะภูมิประเทศ

     แต่เดิมพื้นที่ตำบลท่าช้างและบริเวณใกล้เคียงเป็นพื้นที่ป่าไม้เบญจพรรณ เป็นที่อยู่อาศัย

ของสัตว์นานาชนิด สัตว์ที่มีมากที่สุด คือ ช้างป่า และมีเส้นทางที่ช้างข้ามไปมาระหว่างป่า

แถบดงละครและป่าแถบบริเวณเขาชะโงก  ปัจจุบันยังมีทางซึ่งเป็นทางช้างข้ามแม่น้ำ

นครนายกตรงบริเวณวัดท่าช้าง เนื่องจากเป็นท้องที่ที่มีช้างมาก และมีท่าซึ่งเป็นทางข้าม

ของช้างนี่เอง ชาวบ้านจึงขนานนามท้องที่นี้ว่า "ท่าช้าง"

     เทศบาลตำบลท่าช้าง มีพื้นที่จำนวน ๑ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๖๒๕ ไร่

มีชุมชน ๒ ชุมชน  จำนวน ๒๔๐ ครัวเรือน จำนวนประชากร  ๙๙๗  คน

     ๑) ชุมชนบ้านท่าหุบ     (หมู่ที่   ๘  ตำบลท่าช้าง  บางส่วน)

     ๒) ชุมชนบ้านวัดโบสถ์  (หมู่ที่  ๑๑  ตำบลท่าช้าง  เต็มหมู่)

อาณาเขตติดต่อ

     ทิศเหนือ          ติดต่อกับแม่น้ำนครนายกฝั่งซ้าย

     ทิศใต้              ติดต่อกับคลองส่งน้ำชลประทานสายสองฝั่งเหนือ

     ทิศตะวันออก    ติดต่อกับคลองส่งน้ำชลประทานสายสองฝั่งตะวันตก

     ทิศตะวันตก      ติดต่อกับหมู่ที่ ๑ ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก

ลักษณะการใช้ที่ดิน

     การใช้ที่ดินในเขตเทศบาลซึ่งมีพื้นที่ ๑ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๖๒๕ ไร่

แบ่งออกเป็น

     ๑)  พื้นที่พักอาศัย                        ประมาณ      ๖๐    ไร่

     ๒)  พื้นที่พาณิชยกรรม                  ประมาณ      ๑๕    ไร่

     ๓)  พื้นที่ตั้งหน่วยงานของรัฐ          ประมาณ        ๗    ไร่

     ๔)  พื้นที่สวนสาธารณะ                 ประมาณ      ๒๕    ไร่

     ๕)  พื้นที่เกษตรกรรม                    ประมาณ   ๓๗๗    ไร่

     ๖)  พื้นที่ตั้งสถานศึกษา                 ประมาณ      ๑๖    ไร่

     ๗)  พื้นที่อื่น ๆ                             ประมาณ    ๑๒๕    ไร่

การเมืองการปกครอง

เขตการปกครอง

     เทศบาลตำบลท่าช้าง  มีชุมชน ๒ ชุมชน  จำนวน ๒๖๗ ครัวเรือน 

จำนวนประชากร  ๑,๐๐๖  คน

     ๑) ชุมชนบ้านท่าหุบ     (หมู่ที่   ๘  ตำบลท่าช้าง  บางส่วน)

     ๒) ชุมชนบ้านวัดโบสถ์  (หมู่ที่  ๑๑  ตำบลท่าช้าง  เต็มหมู่)

 

     การแบ่งโครงสร้างของเทศบาลตำบลท่าช้าง  เป็นไปตามพระราชบัญญัติเทศบาล

พ.ศ. ๒๔๙๖  แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ ๑๔ ) พ.ศ. ๒๕๖๒  ประกอบด้วยโครงสร้าง  ๒  ส่วน 

คือ  สภาเทศบาล  และคณะผู้บริหาร  สำหรับการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของเทศบาลจะมี

โครงสร้างเพิ่มขึ้นอีกด้านหนึ่ง  คือ  พนักงานเทศบาล

     ๑.สภาเทศบาล  

     สภาเทศบาล ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน

ในพื้นที่ จำนวน ๑๒ คน มีกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ ๔ ปี สภาเทศบาลมี

ประธานสภาเทศบาล ๑ คน รองประธานสภาเทศบาล ๑ คน และเลขานุการสภาเทศบาล

๑ คน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจากสมาชิกสภาเทศบาลตามมติของสภาเทศบาล 

ประธานสภาเทศบาล  มีหน้าที่ดำเนินกิจการของสภาเทศบาลให้เป็นไปตามระเบียบ

ข้อบังคับการประชุมสภาเทศบาล รองประธานสภาเทศบาลมีหน้าที่กระทำกิจการแทน

ประธานสภาเทศบาลเมื่อประธานสภาเทศบาลไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

     ๒.คณะผู้บริหาร

     คณะผู้บริหารประกอบด้วย  นายกเทศมนตรี  ๑ คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง

ของประชาชน รองนายกเทศมนตรี ไม่เกิน ๒  คน  ที่ปรึกษาและเลขานุการซึ่งมิใช่

สมาชิกสภาเทศบาลรวมกันไม่เกิน  ๒  คน  แต่งตั้งโดยนายกเทศมนตรี

     ให้คณะผู้บริหารควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย

โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า 

     ในกรณีที่นายกเทศมนตรีไม่อาจบริหารกิจการได้ ให้นายกเทศมนตรีแต่งตั้งรองนายก

เทศมนตรีผู้หนึ่งทำการแทน  การสั่ง  การอนุญาต  การให้อนุมัติหรือการปฏิบัติกิจการที่

คณะผู้บริหาร หรือนายกเทศมนตรีจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมายใด ถ้ากฎหมายนั้น

ไม่ได้บัญญัติในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น

     คณะผู้บริหารหรือนายกเทศมนตรี  อาจมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองนายก

เทศมนตรี  ปลัดเทศบาล  หรือรองปลัดทำการแทนคณะผู้บริหาร  หรือนายกเทศมนตรี 

แล้วแต่กรณีได้  และในกรณีได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะมอบอำนาจ

ให้พนักงานเทศบาลตั้งแต่ตำแหน่งหัวหน้าแผนกขึ้นไปทำการแทนก็ได้

     ๓.พนักงานเทศบาล

     บุคลากรที่ปฏิบัติงานประจำของเทศบาลซึ่งกฎหมายกำหนดให้เรียกว่าพนักงานเทศบาล

โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในงานประจำทั่วไปของเทศบาล  

 

บทบาท/การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมทางการเมืองและการบริหาร

     - ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น  ซึ่งเข้ามาร่วมในการกำหนด

วิสัยทัศน์และการจัดทำแผนพัฒนามีการจัดเวทีประชาคมเพื่อสอบถามปัญหาความต้องการ

การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนการวิเคราะห์ศักยภาพของท้องถิ่น การจัดลำดับ

ความสำคัญของประเด็นหลักการพัฒนาภายหลังการจัดทำแผนพัฒนาฯ  ทั้งนี้

เพื่อให้แผนพัฒนา สะท้อนปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น

ได้อย่างตรงจุด

     - การรณรงค์ในการใช้สิทธิเลือกตั้ง มีการเผยแพร่ให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชน 

เพื่อนำไปเผยแพร่แก่ประชาชนในชุมชนให้เข้าใจในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

     - ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องการบริหารงานบุคคล  เช่นมีการคัดเลือก

ประชาชนเข้ามาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาเทศบาล  ส่งเสริมให้ประชาชน

เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดซื้อ/จัดจ้าง ในรูปคณะกรรมการ

     - ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่เทศบาลจัดขึ้น

เช่น ประเพณีท้องถิ่น ตลอดจนงานรัฐพิธีเนื่องในโอกาสต่างๆ

 

สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

ด้านเศรษฐกิจ

     ลักษณะทางเศรษฐกิจ  มีลักษณะเด่นทางด้านการเกษตรและการพาณิชยกรรม 

อาชีพที่สำคัญ ได้แก่ การเกษตร และการพาณิชยกรรม รายได้เฉลี่ยของประชากร

๙๓,๒๒๙.๕๐ บาทต่อคนต่อปี (ข้อมูล จปฐ.ปี ๒๕๖๓)

     -  รายได้เฉลี่ยของคนในชุมชนบ้านท่าหุบ     หมู่ที่   ๘  จำนวน  ๙๘,๔๖๙  บาท/คน/ปี

     -  รายได้เฉลี่ยของคนในชุมชนบ้านวัดโบสถ์  หมู่ที่  ๑๑  จำนวน  ๘๗,๙๙๐  บาท/คน/ปี

การเกษตรกรรม

     การใช้ที่ดินเพื่อเพาะปลูกในเขตเทศบาลตำบลท่าช้าง มีที่นา ๒๓๗ ไร่ ทำสวน ๑๔๐ ไร่

ในภาคเกษตรกรรมมี  ๑๔๘ ครัวเรือน  ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญคือ  ข้าว  มะปราง

มะยงชิด  กระท้อน  เป็นต้น

การพาณิชยกรรม/การบริการ

     ปัจจุบันยังไม่มีสถานประกอบการเทศพาณิชย์ และสถานประกอบการด้านบริการใดๆ

มีเพียงสถานประกอบการด้านพาณิชยกรรมได้แก่

     - ตลาดสดเทศบาล  ๑  แห่ง

     - ร้านค้าทั่วไป  ๒๕  แห่ง

     - ปั๊มน้ำมัน  ๒  แห่ง

การอุตสาหกรรม

     มีลักษณะเป็นอุตสาหกรรมการเกษตร  คือ

     - โรงสีข้าว    ๑  แห่ง

     - โรงอบข้าว  ๑  แห่ง

     - เครื่องชั่งรถบรรทุก  จำนวน  ๒  เครื่อง

การท่องเที่ยว

     ในเขตเทศบาลตำบลท่าช้างมีโบราณสถานคือ มณฑปเก่าซึ่งมีรอยพระพุทธบาทจำลอง

เศียรพระพุทธรูปหินทรายโบราณ  ศาลาไม้เก่าและธรรมาสน์สมัยรัชกาลที่  ๕  ตั้งอยู่บริเวณ

วัดโบสถ์การ้อง  หมู่ที่  ๑๑

สภาพทางการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

การศึกษา

     ๑)  โรงเรียนในสังกัดเทศบาลตำบลท่าช้าง  จำนวน  ๑  แห่ง  ได้แก่  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

เทศบาลตำบลท่าช้าง  มีจำนวน  ๓  ห้องเรียน  จำนวนนักเรียนรวมทั้งสิ้น  ๒๕  คน 

จำนวนพนักงานครูและลูกจ้างรวมทั้งสิ้น  ๔  คน

     ๒)  โรงเรียนในสังกัดพื้นที่การศึกษานครนายก ระดับประถมศึกษา จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่

           - โรงเรียนชลนายกสงเคราะห์

           - โรงเรียนวัดโบสถ์การ้อง

ศาสนา

     นับถือศาสนาพุทธร้อยละ ๑๐๐ ของประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาล

มีวัดจำนวน ๑ วัด คือ วัดโบสถ์การ้อง

วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น

     -  ประเพณีขึ้นปีใหม่      ประมาณเดือนมกราคม     

     -  ประเพณีสงกรานต์     ประมาณเดือนเมษายน

     -  ประเพณีเข้าพรรษา    ประมาณเดือนกรกฎาคม  

     -  ประเพณีลอยกระทง   ประมาณเดือนพฤศจิกายน  

     -  และวันสำคัญทางศาสนาต่าง ๆ

     เทศบาลตำบลท่าช้าง ได้จัดกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม

ในการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีต่อไป

 

การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ

การคมนาคม / ขนส่ง

     เส้นทางคมนาคมของเทศบาลตำบลท่าช้าง  มีการคมนาคมทางบกทางเดียว  ดังนี้

        ถนน คสล.  จำนวน  ๑๑  สาย

(๑)    ถนนสุขาภิบาล  ๑                      ระยะทาง         ๖๕๐    เมตร        

(๒)    ถนนสุขาภิบาล  ๒                      ระยะทาง         ๓๒๖    เมตร        

(๓)    ถนนสุขาภิบาล  ๓                      ระยะทาง      ๑,๕๗๓    เมตร        

(๔)    ถนนทางเข้าวัดโบสถ์                   ระยะทาง        ๒๔๐    เมตร        

(๕)    ถนนเมืองปราณี (อุทิศ)                ระยะทาง        ๓๖๐    เมตร        

(๖)    ถนนทางเข้าโรงสีชุมชน                ระยะทาง        ๒๙๐    เมตร        

(๗)    ถนนซอยสุขาภิบาล  ๑                 ระยะทาง        ๙๒๐    เมตร        

(๘)    ถนนซอยสุขาภิบาล  ๑  แยก  ๑      ระยะทาง         ๗๐    เมตร        

(๙)    ถนนซอยสุขาภิบาล  ๑  แยก  ๒      ระยะทาง         ๕๑    เมตร        

(๑๐)  ถนนซอยสุขาภิบาล  ๑  แยก  ๓      ระยะทาง        ๑๕๔    เมตร        

(๑๑)  ถนนซอยสุขาภิบาล  ๓  แยก  ๑      ระยะทาง        ๒๙๐    เมตร                  

        ถนนลาดยาง  จำนวน  ๑ สาย

(๑)    ถนนสุขาภิบาล  ๔                       ระยะทาง        ๔๒๕    เมตร        

การประปา

     จำนวนครัวเรือนที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลท่าช้างมีน้ำประปาใช้ทุกครัวเรือน  มีพื้นที่

ที่ได้รับการบริการจากการประปาภูมิภาค  คิดเป็นร้อยละ  ๑๐๐  ของครัวเรือนทั้งหมด

การไฟฟ้า

     การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ให้บริการไฟฟ้าอย่างทั่วถึง  ประชาชนในเขตเทศบาล

ตำบลท่าช้างมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน  พื้นที่ที่ได้รับการบริการไฟฟ้า  คิดเป็นร้อยละ

๑๐๐  ของพื้นที่ทั้งหมด

การสื่อสาร

     - มีหอกระจ่ายข่าว/เสียงตามสายในพื้นที่จำนวน  ๔  จุด

     - มีตู้โทรศัพท์สาธารณะในเขตพื้นที่มีจำนวน  ๙ หมายเลข  ให้บริการอย่างทั่วถึง

กีฬา  นันทนาการ/พักผ่อน

     ในเขตเทศบาลตำบลท่าช้าง  จัดให้มีบริการ  ดังนี้

     (๑) สนามเด็กเล่น                 จำนวน        ๓       แห่ง

     (๒) สวนสาธารณะ                 จำนวน       ๓       แห่ง

     (๓) สนามบาสเก็ตบอล           จำนวน       ๑       แห่ง

การสาธารณสุข

     (๑) คลีนิคเอกชน                  จำนวน       ๑       แห่ง

     (๒) ร้านขายยา                     จำนวน       ๒       แห่ง

     (๓) บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานพยาบาลทุกแห่ง  ทุกสังกัดในเขตพื้นที่

          - แพทย์                   จำนวน        ๑      คน  

          - พยาบาล                จำนวน        ๑      คน      

          - อสม.                     จำนวน      ๒๐     คน              

การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

     ๑) สถิติเพลิงไหม้ในรอบปี ( ๑ ม.ค. - ๓๑ ธ.ค.)  จำนวน  ๑  ครั้ง

     ๒) ความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจากเหตุเพลิงไหม้ในรอบปีที่ผ่านมา    

          คิดเป็นผู้เสียชีวิต  -  คน , บาดเจ็บ  -  คน , ทรัพย์สินมูลค่า  -  บาท

     ๓) รถบรรทุกน้ำ                                       จำนวน      ๒     คัน

     ๔) รถยนต์ตรวจการ                                  จำนวน      ๑     คัน

     ๕) เครื่องดับเพลิงชนิดหาบหาม                   จำนวน      ๒     เครื่อง

     ๖) พนักงานขับเครื่องจักรขนาดเบา               จำนวน      ๓     คน

     ๗) พนักงานดับเพลิง                                 จำนวน      ๓     คน

     ๘) อาสาสมัครป้องกันฝ่ายพลเรือน(อปพร.)     จำนวน    ๔๖     คน

การอำนวยการเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 

     (๑) สถานีดับเพลิง                                            จำนวน        -      แห่ง

     (๒) ที่พักสายตรวจตำบลท่าช้าง                           จำนวน       ๑      แห่ง

     (๓) รถดับเพลิง                                                จำนวน       ๑      คัน

สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

     ๑. แหล่งน้ำ

          (๑) แม่น้ำ   จำนวน   ๑ สาย   คือ  แม่น้ำนครนายก                                      

          (๒) คลอง   จำนวน   ๑ แห่ง   คือ  คลองส่งน้ำชลประทานฝั่งซ้ายสาย ๒

     ๒. การระบายน้ำ

          (๑)  พื้นที่น้ำท่วมถึง  คิดเป็นร้อยละ  ๘๐  ของพื้นที่ทั้งหมด

          (๒) ระยะเวลาเฉลี่ยที่น้ำท่วมขังนานที่สุด ๓ วัน ประมาณช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม

     ๓. ขยะ

          (๑)  ปริมาณขยะ                     ๑.๒  ตัน/วัน

          (๒)  รถยนต์ที่ใช้จัดเก็บขยะ  จำนวน   ๑ คัน  ขนาดความจุ   ๑๐   ลบ.ม.  

          (๓)  ขยะที่เก็บขนได้      จำนวน  ๖ ลบ.ม.

          กำจัดขยะโดยวิธีนำขยะไปทิ้งที่ บริษัท ทีพีไอโพลีนฯ จำกัด ที่อำเภอแก่งคอย

จังหวัดสระบุรี  โดยบริษัท ทีพีไอโพลีนฯ จำกัด  ให้ค่าขนส่งขยะตันละ  ๑๕๐.- บาท